เมื่อพ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรชีวิตของชาวเขาที่ บ้านดอยปุย บริเวณใกล้พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จึงทรงทราบว่าชาวเขาปลูกฝิ่นแต่ยากจน นอกจากฝิ่นแล้ว ยังเก็บท้อพื้นเมืองขาย ทรงทราบว่า สถานีทดลองดอยปุย ซึ่งเป็นสถานีทดลองไม้ผลเขตหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำกิ่งพันธุ์ท้อลูกใหญ่มาต่อกับต้นตอท้อพื้นเมืองได้ จึงทรงให้ค้นคว้าหาพันธุ์ท้อที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย เพื่อให้ได้ท้อผลใหญ่ หวานฉ่ำ ทำรายได้สูงไม่แพ้ฝิ่น โดยพระราชทานเงินจำนวน 200,000 บาท ให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำหรับจัดหาที่ดินสำหรับดำเนินงานวิจัยไม้ผลเขตหนาวเพิ่มเติมจากสถานีวิจัยดอยปุยซึ่งมีพื้นที่คับแคบ ซึ่งเรียกพื้นที่นี้ว่า “สวนสองแสน” ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้น

จาก “สวนสองแสน” สู่ “โครงการหลวง”

เมื่อ พ.ศ. 2512 โครงการหลวงเริ่มจากการเป็นโครงการส่วนพระองค์ โดยมีหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ในตำแหน่งผู้อำนวยการ โครงการฯ มีชื่อเรียกในระยะแรกว่า “โครงการหลวงพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ รวมกับเงินที่มีผู้ทูลเกล้าฯถวาย สำหรับเป็นงบประมาณดำเนินงานต่าง ๆ มีเป้าหมายสำหรับการดำเนินงาน คือ

1. ช่วยชาวเขาเพื่อมนุษยธรรม
2. ช่วยชาวไทยโดยลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ คือ ป่าไม้และต้นน้ำลำธาร
3. กำจัดการปลูกฝิ่น
4. รักษาดิน และใช้พื้นที่ให้ถูกต้อง คือ ให้ป่าอยู่ส่วนที่เป็นป่า และทำไร่ ทำสวน ในส่วนที่ควรเพาะปลูก ไม่ให้สองส่วนนี้รุกล้ำกัน

“…โครงการหลวง ได้เริ่มขึ้นเป็นกิจการเล็กๆ ซึ่งไม่เป็นโครงการ แต่เป็นการไปเที่ยวมากกว่า คือไปเที่ยวตามหมู่บ้านต่าง ๆ ก็ได้เห็นว่าควรจะช่วยประชาชนในการอาชีพ จึงได้นำสิ่งของไปให้เขาเพื่อที่จะพัฒนาการอาชีพของชาวบ้าน ต่อมาก็ได้เพิ่มขึ้น มีผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานราชการได้เข้ามาช่วย และมีคนส่วนหนึ่งช่วยเพื่อที่จะให้การส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น ต่อมามีการร่วมมือของทางองค์กรต่างประเทศ ตลอดจนรัฐบาลต่างประเทศด้วย จึงขึ้นมาเป็นโครงการที่เรียกว่า “โครงการหลวง” โครงการหลวงเริ่มต้นจากโครงการที่ประกอบด้วยผู้ที่เป็นอาสาสมัครและเป็นข้าราชการในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ของไทย และเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มาจากต่างประเทศ ในที่สุดเป็นโครงการที่มามายใหญ่โตขยายออกไปจากการช่วยประชาชนในหมู่บ้าน ในวงจำกัด จนกระทั่งเป็นการช่วยเหลือเท่ากับเป็นภาคทีเดียว จึงต้องมีการบริหารที่ดีขึ้น และก็มีคนได้ช่วยบริจาคเงินและสิ่งของ เพื่อที่จะให้โครงการนี้ดำเนินไปตามจุดประสงค์ คือ ความกินดีอยู่ดีของประชาชน ต่อมาจึงได้เปลี่ยนแปลงเป็น “มูลนิธิโครงการหลวง” เพื่อที่จะให้กิจการนี้ดำเนินต่อไปได้อย่างสม่ำเสมอ ในการที่ได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการต่างๆ อย่างดีโดยเอื้อเฟื้อบุคลากรและ งบประมาณที่จะช่วยให้ทำได้ตามจุดประสงค์…”

พระราชดำรัส ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ในโอกาสที่ประธานมูลนิธิโครงการหลวงนำคณะบุคคลเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าถวายเงิน และน้อมเกล้าฯ ถวายสิ่งของเพื่อสนับสนุนกิจการมูลนิธิโครงการหลวง 

ในพ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรง ให้โครงการหลวงจดทะเบียน เป็น “มูลนิธิโครงการหลวง” โดยพระราชทานเงินเพื่อเป็นทรัพย์สินของมูลนิธิฯ เริ่มแรก 500,000 บาท เพื่อให้เป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ที่ถาวรมั่นคง สามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีระบบงานที่แน่นอนรองรับ มีการบริหารงานภายในคล่องตัว มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานและเกิดผลดียิ่งขึ้นในอนาคต พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงดำรงตำแหน่งนายกกิตติมศักดิ์ และหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงเป็นประธานมูลนิธิ โดยมี ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นเลขาธิการมูลนิธิ

ร่วมแรงร่วมใจ

ในการดำเนินงานต่าง ๆ ของโครงการหลวง จะมีอาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการด้านต่าง ๆ ปฏิบัติงานถวาย ทำให้การปฏิบัติงานก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานวิจัยการปลูกพืชเขตหนาวชนิดต่าง ๆ ทำให้เกษตรกรสามารถนำไปปลูกทดแทนฝิ่นได้ผลดี

นับเป็นก้าวใหม่ของโครงการหลวง ในการก้าวสู่การเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์อย่างแท้จริง มีระบบงานที่ดี ทำให้การทำงานคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการและเอกชน ก่อเกิดงานวิจัยและพัฒนาใหม่ ๆ ในลักษณะโครงการนำร่อง เป็นผลให้เกิดการส่งเสริมอาชีพ พัฒนาการตลาดผลิตผลและผลิตภัณฑ์จากพื้นที่ส่งเสริมของโครงการหลวง เกิดการพัฒนาสังคมและชุมชนบนที่สูง ตลอดจนมีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้คงความสมบูรณ์ อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของพื้นที่ต้นน้ำลำธารบนที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย

01

โครงการพัฒนาในประเทศ

ในการดำเนินงานต่าง ๆ ของโครงการหลวง จะมีอาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการด้านต่าง ๆ ปฏิบัติงานถวาย ทำให้การปฏิบัติงานก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานวิจัยการปลูกพืชเขตหนาวชนิดต่าง ๆ ทำให้เกษตรกรสามารถนำไปปลูกทดแทนฝิ่นได้ผลดี

02

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

รับผิดชอบ ช่างเคี่ยน แม่สาใหม่ อ่างขาง แกน้อย

03

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับผิดชอบ บ้านปางป่าคา ห้วยผักไผ่ ปู่หมื่นใน บ้านใหม่ร่มเย็น ถ้ำเวียงแก บ้านสวด จอมหด

04

04

สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้

สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ รับผิดชอบ บ้านวังดิน(ศูนย์ฯหมอกจ๋ามในปัจจุบัน) ผาหมี สะโง๊ะ เมืองงาม

05

กรมวิชาการเกษตร

รับผิดชอบส่งเสริมกาแฟอราบิก้า (ร่วมกับกรมประชาสงเคราะห์ซึ่งมีศูนย์พัฒนา และสงเคราะห์ชาวเขาบ้านแม่ลาน้อย) ห้วยฮ่อม บ้านดง ป่าแป๋ รากไม้

ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพันธุ์ไม้ผลเขตหนาว ได้แก่ แอบเปิ้ล ท้อ พลับ และพืชไร่ที่เหมาะสมต่อการปลูกบนเขาสูงได้แก่ ถั่วแดงหลวง รวมทั้งสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ ได้แก่ วัวพันธุ์บราห์มัน ห่าน และแกะ เป็นต้น ซึ่งเป็นการให้ชาวเขายืมพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์เหล่านี้ไปทดสอบเพาะปลูกและเลี้ยงดู ถ้าได้ผลก็จะขอคืน

งานวิจัยนำไปสู่การพัฒนาอาชีพ

ในโครงการหลวงมีงานวิจัยเกี่ยวกับพันธุ์พืช ผัก ผลไม้ ไม้ดอกและไม้ประดับ จำนวนมาก และมีการจัดจำหน่ายผลผลิตบางส่วนในร้านโครงการหลวงอีกด้วย ตัวอย่างงานวิจัย ได้แก่

01

ถั่วแดงหลวง

เมล็ดถั่วแดงพันธุ์ darkled redcoat และ maintop ถั่วไลมา (lima) และถั่วปินโต (pinto) ปลูกได้ดีที่แม่โถ บ้านวังดิน ผาหมี สะโมง และดอยงาม

02

สตรอว์เบอร์รี

พันธุ์สตรอเบอรี่ที่เกษตรกรนิยมปลูก คือ พันธุ์พระราชทานเบอร์ 16 ปัจจุบันเกษตรกรในโครงการหลวงได้ปลูกสตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80 ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้บริโภค

03

กาแฟอราบิก้า

สามารถเจริญเติบโตได้ดี มีการศึกษาพันธุ์กาแฟอาราบิกาต้านทานโรคราสนิม รวมถึงการศึกษาด้านการปฏิบัติรักษาการปลูกกาแฟอราบิก้าด้านต่าง ๆ โดยทุนการวิจัยจาก USDA/ARS

04

พืชผักเขตหนาว

จากผลการวิจัยพืชผักที่ได้รับการสนับสนุนจาก USDA/ARS รวมทั้งการสนับสนุนของไต้หวัน ในฤดูปลูก พ.ศ. 2524 โครงการหลวงจึงได้เริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชผักเขตหนาวที่ “โครงการหลวงแม่แฮ” เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น พืชผักชนิดต่าง ๆ ที่ปลูกได้ดี ได้แก่ ผักกาดหอมห่อ ผักกาดหางหงส์ และแครอท

05

ไม้ผลเขตหนาว

การวิจัยและส่งเสริมไม้ผลเขตหนาวชนิดต่าง ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐจีนไต้หวัน และทุนการวิจัยจาก USDA/ARS ทำให้ได้ชนิดและพันธุ์ไม้ผลเขตหนาว ไม้ผลกึ่งหนาว และไม้ผลขนาด

06

ไม้ตัดดอกและไม้ประดับ

นำไม้ตัดดอกชนิดต่าง ๆ ทดลองปลูก เช่น คาร์เนชัน เบญจมาศ แกลดิโอรัส ซิมบิเดียม ฯลฯ ในระยะแรกดำเนินงานวิจัยที่ห้วยทุ่งจ้อ ต่อมาย้ายไปที่โครงการหลวงอินทนนท์ และได้ส่งเสริมให้

หน่วยอารักขาพืช

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรชีวิตของชาวเขาที่ บ้านดอยปุย บริเวณใกล้พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จึงทรงทราบว่าชาวเขาปลูกฝิ่นแต่ยากจน นอกจากฝิ่นแล้ว ยังเก็บท้อพื้นเมืองขาย ทรงทราบว่า สถานีทดลองดอยปุย ซึ่งเป็นสถานีทดลองไม้ผลเขตหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำกิ่งพันธุ์ท้อลูกใหญ่มาต่อกับต้นตอท้อพื้นเมืองได้ จึงทรงให้ค้นคว้าหาพันธุ์ท้อที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย เพื่อให้ได้ท้อผลใหญ่ หวานฉ่ำ ทำรายได้สูงไม่แพ้ฝิ่น โดยพระราชทานเงินจำนวน 200,000 บาท ให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำหรับจัดหาที่ดินสำหรับดำเนินงานวิจัยไม้ผลเขตหนาวเพิ่มเติมจากสถานีวิจัยดอยปุยซึ่งมีพื้นที่คับแคบ ซึ่งเรียกพื้นที่นี้ว่า “สวนสองแสน” ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้น

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป

พ.ศ. 2515 โครงการหลวงตั้งโรงงานอาหารสำเร็จรูปแห่งแรกที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อแปรรูปผลผลิตการเกษตรที่มีมากขึ้น เริ่มจากการแปรรูปผลสตรอว์เบอร์รีของเกษตรกร ช่วยให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ราคาสูง จากนั้นตั้งโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปเพิ่ม ที่บ้านยาง อำเภอฝาง เพื่อแปรรูปผลไม้ และเพิ่มโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่แม่จัน จังหวัดเชียงราย เพื่อทำแป้งถั่วเหลือง รวมถึงการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค้าเพิ่มให้แก่ผลผลิตชนิดต่าง ๆ ของเกษตรกร

โครงการปลูกพืชทดแทนฝิ่นแห่งแรกของโลก

ในพ.ศ. 2537 โครงการควบคุมยาเสพติดของสหประชาชาติ (UNDCP) ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญทองเพื่อสดุดีพระเกียรติคุณในการแก้ปัญหายาเสพติด โดยส่งเสริมให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น แต่ปลูกพืชอื่นแทน จึงกล่าวได้ว่าโครงการหลวงเป็นโครงการปลูกพืชทดแทนฝิ่นแห่งแรกของโลก

รางวัลแห่งผลสำเร็จมูลนิธิโครงการหลวง

ปีพุทธศักราช

2515

ก่อตั้ง “มูลนิธิส่งเสริมผลผลิตชาวเขาไทยในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี”

ปีพุทธศักราช

2530

พระราชดำรัสสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี “ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง” เริ่มโครงการพัฒนาเต็มรูปแบบที่ดอยตุงและเริ่มการก่อสร้างพระตำหนักดอยตุงเพื่อเป็นที่ประทับทรงงาน

ปีพุทธศักราช

2531

โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 9,900 ไร่ เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเจริญพระชนมายุครบ 90 พรรษา

ปีพุทธศักราช

2532

ก่อตั้ง “บริษัท นวุติ จำกัด” เพื่อปลูกป่าเศรษฐกิจในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ เป็นวิสาหกิจกิจเพื่อสังคมแห่งแรกของประเทศไทย

ปีพุทธศักราช

2533

ก่อตั้ง “ศูนย์ส่งเสริมอาชีพหัตถกรรม” เพื่อฝึกอบรมการทอผ้าและเย็บผ้า ปัจจุบันเรียกว่า “ศูนย์ผลิตและจำหน่ายงานมือ” โดยเปิดบริการร้านแม่ฟ้าหลวงแห่งแรกที่ดอยตุง ปัจจุบันร้านหัตถกรรมทั้งหมดมีชื่อใหม่ว่า “ดอยตุงไลฟ์สไตล์”

ปีพุทธศักราช

2535

ก่อตั้ง “ศูนย์บำบัดยาเสพติด” ที่บ้านผาหมี เพื่อให้ผู้ติดยากว่า 500 คน กลับเข้าสู่สังคมอย่างมีศักดิ์ศรี

“…เรื่องที่เราจะช่วยชาวเขา และโครงการชาวเขานั้น มีประโยชน์โดยตรงกับชาวเขา ที่จะส่งเสริมให้ชาวเขามีความกินอยู่ดีขึ้นสามารถเพราะปลูกสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นรายได้กับเขาเอง ที่มีโครงการนี้ จุดประสงค์อย่างหนึ่งก็คือมนุษยธรรม หมายถึงให้ผู้อยู่ถิ่นทุรกันดาร สามารถที่จะมีความรู้ และพยุงตัวมีความเจริญได้ อีกอย่างหนึ่งก็เป็นเรื่องช่วยในทางที่ทุกคนเห็นว่าควรช่วย เพราะเป็นปัญหาใหญ่ ก็คือปัญหาเรื่องยาเสพติด ถ้าสามารถช่วยชาวเขาปลูกพืชที่เป็นประโยชน์บ้าง เขาจะเลิกปลูกยาเสพติด คือฝิ่น ทำให้นโยบายปราบปรามการสูบฝิ่นและการค้าฝิ่นได้ผลดี อันนี้เป็นผลอย่างหนึ่ง ผลอีกอย่างหนึ่งซึ่งสำคัญมากก็คือ ช่วยเขาเป็นผู้ที่ทำการเพาะปลูกโดยวิธีที่จะทำให้บ้านเมืองของเราไปสู่หายนะได้โดยถางป่า แล้วปลูกโดยวิธีที่ไม่ถูกต้อง ถ้าพวกเราทุกคนไปช่วยเขาก็เท่ากับไปช่วยบ้านเมืองให้มีความอยู่ดีกินดี และความปลอดภัยอีกได้ทั่วประเทศ…”

พระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
อันนำไปสู่กำเนิดโครงการหลวง

แกลเลอรี่ภาพ “ มูลนิธิโครงการหลวง ”

อินโฟกราฟิก

อ้างอิง

มูลนิธิโครงการหลวง. (n.d.). ความเป็นมา. มูลนิธิโครงการหลวง | Royal Project Foundation. เมื่อ 27 เมษายน, 2565, จาก https://www.royalprojectthailand.com/front
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2556). ดิน น้ำ ลม ไฟ สมดุลสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2560). จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2553).
ผลสำเร็จโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๘๔ พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา.