ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่ ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นอีกหนึ่งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต ที่เคยประสบปัญหาการบุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อทำไร่สับปะรดที่ดำเนินการอย่างขาดหลักวิชาการ มีการใช้สารเคมีเกินความจำเป็น ขาดการบำรุงรักษาดิน ทำให้ธรรมชาติขาดความสมดุล ป่าไม้ถูกทำลายโดยสิ้นเชิงในห้วงเวลาไม่เกิน 40 ปี ทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล บางครั้งแห้งแล้ง แต่บางครั้งฝนกลับตกมากเกินไป เกิดการชะล้างพังทลายของดินและสูญเสียหน้าดิน คุณภาพดินเสื่อมโทรม

ระบบภูเขาป่า

จากเดิมพื้นที่นี้มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง จึงมีคนไปตัดไม้สำหรับเป็นฟืนและเผาถ่าน ร่วมกับการปลูกพืชไร่และสับปะรด ทำให้ดินจืด กลายเป็นทราย ถูกลมและน้ำชะล้างไปหมด จนเหลือแต่ดินดาน ซึ่งเป็นดินที่แข็งตัวเมื่อถูกอากาศ ดินจึงไม่มีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ที่จำเป็นสำหรับทำเกษตรกรรม ดังพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2526 ว่า

“...พื้นที่นี้มีความเสื่อมโทรม ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกรงว่าหากปล่อยทิ้งไว้ จะกลายเป็นทะเลทรายในที่ส...”

ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเก็บน้ำจากฝนที่ตกลงมาให้อยู่ในพื้นดินให้มากที่สุด ซึ่งการที่จะให้น้ำมีโอกาสซึมลงไปในพื้นดินได้มากที่สุดจะต้องให้น้ำอยู่ในพื้นที่ให้นานที่สุดด้วยเช่นกัน กล่าวคือ น้ำจะต้องไม่ไหลบ่าไปโดยเร็ว วิธีการสร้างสิ่งกีดขวางทิศทางการไหลของผิวน้ำจะช่วยชะลอการไหลบ่าของน้ำผิวดิน ซึ่งจะช่วยให้น้ำมีเวลาซึมลงไปในดินได้นานขึ้นและจะได้น้ำในดินมากขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยลดการชะล้างพังทลายของดินให้น้อยลงเมื่อฝนตกหนัก

ดังพระราชดำริเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2529 ว่า

“…ร่องน้ำตามช่องภูเขาต่างๆในเขตโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริและภูเขาบริเวณใกล้เคียงซึ่งกรมป่าไม้มีแผนงานจะปลูกสร้างเป็นภูเขาป่าโดยเฉพาะเขาเสวยกะปิเขารังแร้งเขากระปุกเขาน้อยเขาทองเขาปอขิงเขาเตาปูนเขาหนอกว่าเขาหุบสบู่และเขาพุหวายควรสร้างฝายเก็บกักน้ำในร่องน้ำตามช่องเขาต่างๆเป็นขั้นๆตามความเหมาะสมโดยใช้วัสดุท้องถิ่นเช่นหินเพื่อให้น้ำได้มีโอกาสขังอยู่ในร่องน้ำและซึมเข้าไปในดินเพื่อให้เกิดความชุ่มชื้นของดิน 2 ฝั่งร่องน้ำให้นานขึ้น…”

ทรงแนะนำให้ดำเนินการสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าเซลล์) ขึ้นไปใส่ถังพักน้ำที่ก่อสร้างไว้บนภูเขา ให้น้ำล้นและปล่อยให้ไหลกระจายไปตามพื้นที่โดยรอบถังพักน้ำ แล้วปลูกต้นไม้ไว้รอบ ๆ พื้นที่ จะช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตดี ซึ่งไม้ที่ใช้ปลูกในพื้นที่เป็นไม้โตเร็ว ไม้เศรษฐกิจ และไม้ดั้งเดิม วิธีการปลูกป่าแบบนี้มีอัตราการรอดตายของพันธุ์ไม้ค่อนข้างสูง

01

ปรับปรุงดินที่แข็งเป็นดาน

ทรงให้ศึกษาทดลองโดยการขุดเจาะดินให้เป็นร่องแล้วนำหญ้าแฝกมาปลูกให้น้ำเพื่อสร้างความชุ่มชื้นรากของหญ้าแฝกมีความแข็งแรงสามารถช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินที่แข็งเป็นดานให้แตกตัวน้ำและอากาศสามารถหมุนเวียนลงสู่ใต้ดินได้ทำให้เกิดความชุ่มชื้นเกิดกระบวนการย่อยสลายหลังจากนั้นสามารถนำพันธุ์ไม้ที่ทนต่อสภาพความแห้งแล้งมาปลูกได้เช่นไม้ดั้งเดิมที่เคยมีในพื้นที่มาปลูกเสริมใบของหญ้าแฝกที่แก่สามารถตัดและนำมาคลุมผิวดินตามโคนต้นไม้ช่วยรักษาความชุ่มชื้นและย่อยสลายเป็นธาตุอาหารของพืชได้ต่อไป

02

ฟื้นฟูสภาพป่าไม้ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก

เป็นผลที่ได้รับจากการสร้างระบบภูเขาป่าเนื่องจากพืชพรรณไม้ที่รอดตายและสามารถเจริญเติบโตได้ในระยะเวลาหนึ่งจะสามารถผลิดอกออกผลเมล็ดหรือผลที่แก่จะเลือกร่วงหล่นหรือเมื่อสัตว์ได้กินผลแล้วไปถ่ายไว้ในพื้นที่ต่างๆประกอบกับมีสภาพอากาศที่เหมาะสมทำให้มีการเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่หรือในกรณีที่ไม่เข้าไปบุกรุกเป็นการปล่อยพื้นที่ทิ้งไว้ตามธรรมชาติในระยะเวลา 1 พืชต่างๆที่ถูกตัดต้นไปแล้วเหลือแต่ตอไว้ก็สามารถแตกหน่อแล้วเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้ มีพืชพรรณไม้เดิมขึ้นเต็มร่องเขา เป็นการคืนสภาพป่าธรรมชาติโดยไม่ต้องปลูกสามารถประหยัดงบประมาณได้

03

ปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง

ปลูกไม้ผลไม้สร้างบ้านและไม้ฟืนนอกจากจะได้ให้ประโยชน์โดยเป็นไม้ที่กินได้ไม้ใช้สอยและไม้เศรษฐกิจตามชื่อแล้วยังสามารถให้ประโยชน์อย่างที่ 4 คือช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำซึ่งเป็นการสร้างป่าแบบผสมผสานได้อย่างกลมกลืนและฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ได้เร็วยิ่งขึ้น

04

ป่าเปียก

น้ำบางส่วนที่ไหลลงมาจากระบบภูเขาป่าจะไหลลงมาที่ “แนวฝายชะลอความชุ่มชื้น” หรือ check dam สร้างความชุ่มชื้นให้ทั่วพื้นที่เพื่อสนับสนุนการปลูกป่าการกระจายน้ำจากฝายโดยการใช้ท่อไม้ไผ่ใช้ท่อสายยางหรือท่อ PVC เจาะรูให้น้ำกระจายออกไปเพื่อสร้างความชุ่มชื้นในพื้นที่แล้วทำการปลูกป่าเสริม

05

การบริหารจัดการน้ำ

พ.ศ 2535 มีพระราชดำริให้จัดสร้าง “ระบบเครือข่ายอ่างเก็บน้ำ” (อ่างพวง) มีหลักการว่าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ตอนบนสามารถปล่อยน้ำลงมาเติมอ่างเก็บน้ำที่มีขนาดเล็กที่อยู่ตอนล่างได้โดยการเชื่อมต่อท่อส่งน้ำในแต่ละอ่างเก็บน้ำเข้าหากันโดยที่อ่างเก็บน้ำทุ่งขามส่งน้ำลงมาที่อ่างเก็บน้ำห้วยตะแปด และอ่างเก็บน้ำห้วยทราย
-หุบกะพงและอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปดสามารถส่งน้ำไปยังเขากระปุกเชื่อมต่อท่อไปที่อ่างเก็บน้ำห้วยทรายทำให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นราษฎรสามารถมีน้ำใช้เพื่ออุปโภคบริโภคตลอดจนการใช้น้ำเพื่อการเกษตรทั้งนี้จะมีแผนการใช้น้ำแต่ละฤดูเพาะปลูกได้ตลอดทั้ง

06

การปรับปรุงพื้นที่ดินตื้น

จากเนื้อดินที่เคยเป็นดินร่วนปนทรายและกรวดหิน ปัจจุบัน มีการพัฒนาฟื้นฟูดินเสื่อมโทรม จัดหาน้ำ สร้างความชุ่มชื้น อนุรักษ์ดินและน้ำโดยใช้หญ้าแฝก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด สามารถปลูกพืชได้ ทำเป็นแปลงทฤษฎีใหม่ และฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายของพรรณไม้และมีจำนวนสัตว์ป่าเพิ่มขึ้น

07

แปลงสาธิตในลักษณะพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต

เพื่อให้เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปได้ศึกษาหาความรู้ และนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอาชีพของตนเองและชุมชนประกอบไปด้วย

• แปลงสาธิตการทดสอบข้าวพันธุ์ดี ผักปลอดสารพิษ เช่น พริก มะเขือ มะเขือเทศ บวบ
• ไม้ผลพันธุ์ดีเพื่อขยายพันธุ์ เช่น มะม่วง มะเฟือง องุ่น แก้วมังกร
• การปลูกพืชไร่หมุนเวียน การปลูกพืชพื้นเมือง เช่น ผักหวาน มะแว้ง ยอบ้าน บัวบก
• การรวบรวมพันธุ์ไผ่ เช่น ไผ่เลี้ยง ไผ่ตง ไผ่ซางนวล
• พืชสมุนไพร เช่น เปล้าน้อย หว้า สมอ จำปาเทศ พลับ มะเดื่อ
• การเพาะเห็ด เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เป็นต้น
• พัฒนาการปศุสัตว์ ได้แก่ โรงเรียนสาธิตการเลี้ยงโคนม เป็ดเทศ และไก่พื้นเมือง
• พัฒนาประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ บ่อสาธิตการเลี้ยงกบ การเลี้ยงปลาในบ่อดินและบ่อซีเมนต์
• พัฒนาปรับปรุงและบำรุงดินด้วยการใช้หญ้าแฝก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยคอก
• พัฒนาป่าไม้โดยการสร้างสวนป่า ปลูกพันธุ์ไม้เสริม และเพาะพันธุ์ ขยายพันธุ์กล้าไม้
• พัฒนาและอนุรักษ์สัตว์ป่า ได้แก่ ศูนย์สาธิตการเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าในบริเวณเขาเตาปูน โดยศึกษาทดลองปล่อย “สัตว์กีบ” เช่น เนื้อ ทราย ละอง ละมั่ง และเก้ง และ “สัตว์ปีก” ได้แก่ นกยูง ไก่ฟ้าชนิดต่าง ๆ และไก่ป่า

08

การสร้างคันดินกั้นน้ำ (Terracing)

เป็นการเลือกพื้นที่รับน้ำ จากนั้นทำการขยายให้กว้างและลึกขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในการกักเก็บ โดยดินที่ขุดขึ้นจะต้องไม่ไปเปลี่ยนแปลงหรือไปขวางทางน้ำที่ไหลเข้ามาตามธรรมชาติ

09

การสร้างคันดินเบนน้ำ (Diversion)

เป็นการเชื่อมต่อคันดินกั้นน้ำ (Terracing) ที่สามารถเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นแนวขวางทางน้ำในพื้นที่ บริเวณใดเป็นพื้นที่ต่ำก็ใช้ดินถมเสริมขึ้นเป็นคันดิน บริเวณใดเป็นพื้นที่สูงก็ใช้วิธีขุดร่อง มีการใช้กล้องหาระดับทำการจัดระดับให้น้ำไหลถ่ายเทเข้าหากัน

การสร้างคันดินกั้นน้ำประกอบกับคันดินเบนน้ำสามารถประยุกต์ใช้เพื่อให้น้ำฝนถูกรวบรวมไหลเข้าสระน้ำ โดยขุดสระในที่ลุ่มของพื้นที่ ใช้แนวคันดินกั้นน้ำไม่ให้ออกไปจากพื้นที่ และใช้แนวคันดินเบนน้ำเข้ามายังสระน้ำ เมื่อน้ำเต็มสระก็จะล้นไปตามทางระบายน้ำ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้กั้นน้ำและเบนน้ำจากพื้นที่หนึ่งไม่ให้เข้าไปยังอีกพื้นที่หนึ่งได้

“…ให้เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาป่าไม้อเนกประสงค์มุ่งหมายศึกษารูปแบบการพัฒนาเกษตรกรรมควบคู่ไปกับการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรและปลูกป่าจัดสรรที่ทำกินให้กับราษฎรที่ได้เข้ามาบุกรุกทำกินอยู่แต่เดิมให้ได้เข้าอยู่อาศัยและให้ความรู้กับราษฎรให้ทำการเกษตรอย่างถูกวิธีรวมทั้งให้มีส่วนร่วมในการปลูกป่าดูแลรักษาป่าตลอดจนให้ได้รับประโยชน์จากผลผลิตของป่าเพื่อที่ราษฎรจะได้ไม่บุกรุกทำลายป่าอีกต่อไป…”

พระราชดำรัสเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรและได้พระราชทานพระราชดำริ
ให้พัฒนาพื้นที่ส่วนหนึ่งในเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

แกลเลอรี่ภาพ “ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี”

อินโฟกราฟิก

อ้างอิง

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2553). ๓ ทศววรษ ศูนย์การศึกษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2556). ดิน น้ำ ลม ไฟ สมดุลสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2560). จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2553). ผลสำเร็จโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๘๔ พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2561). ผลสำเร็จจากองค์ความรู้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปี 2560.