ทศมราชากับเกษตรวิชญา โครงการเกษตรวิชญา เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงพระราชทานที่ดิน ส่วนพระองค์ในพื้นที่สวนบ้านกองแห หมู่ที่ 4 ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1,350 ไร่ให้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อดำเนินการในลักษณะคลินิกเกษตร

แหล่งขุมทรัพย์แห่งปัญญาทางการเกษตร

บริเวณโครงการแบ่งพื้นที่การใช้สอยออกเป็น 5 ส่วน ประกอบด้วย

01

ศูนย์การเรียนรู้ด้านเกษตรบนพื้นที่สูง เนื้อที่ 138 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่สาธิต ด้านดิน พืช ปศุสัตว์ ประมง การจัดการน้ำ รวมทั้งการเรียนรู้เรื่องบัญชีครัวเรือน และการสหกรณ์

02

ธนาคารอาหารชุมชน เนื้อที่ 123 ไร่ เป็นพื้นที่สวนป่าผสมผสาน เป็นแหล่งอาหารของชุมชนกองแหะ สร้างเป็นพื้นที่ต้นแบบธนาคารอาหารชุมชน

03

พื้นที่อนุรักษ์และฟื้นฟูป่า เนื้อที่ 918 ไร่ ปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

04

แปลงเกษตรกร เนื้อที่ 139 ไร่ จัดเป็นพื้นที่ทำกินของเกษตรกรบ้านกองแหะ จำนวน 55 ราย รายละ 1 ไร่ โดยถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการ

05

พื้นที่ทรงงาน เนื้อที่ 32 ไร่ เป็นพื้นที่สวนป่า ปลูกไม้ยืนต้น สร้างความร่มรื่น

ต่อยอดขยายผล

เพาะชำกล้าไม้โตเร็วจำนวน 50,000 กล้า เพื่อแจกจ่ายให้ราษฎรนำไปปลูกขยายผลใช้ประโยชน์ในชุมชนและครัวเรือนปลูกป่าไม้ใช้สอย ไม้โตเร็ว จำนวน 120 ไร่ เพื่อให้ราษฎร มีพื้นที่ป่าไว้ใช้ประโยชน์เป็นถ่านฟืนหุงต้มอาหาร และดำเนินกิจกรรมส่งเสริมราษฎรผลิตและ ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล จำนวน 2 หมู่บ้านอีกทั้งจัดฝึกอบรมหลักสูตร “การผลิตและใช้เชื้อเพลิง อย่างมีประสิทธิภาพ” แก่ราษฎรจำนวน 30 คน

ทำให้ราษฎรจำนวน 2 หมู่บ้าน ได้เรียนรู้การผลิตและนำเชื้อเพลิงจากวัสดุชีวมวลมาใช้สอยในชีวิตประจำวันและพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น มีวัสดุเชื้อเพลิงทดแทนการใช้ไม้ฟืน ลดปริมาณการใช้ไม้ฟืนจากป่าธรรมชาติราษฎรได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ปลูกไม้ฟืน จำนวน 120 ไร่ ส่งผลให้ราษฎรเกิดความรักความหวงแหนทรัพยากรป่าไม้และเรียนรู้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

เชื่อมโยงศาสตร์สากลกับภูมิปัญญาท้องถิ่น

รวบรวมความรู้ทางการเกษตรทั้งด้านวิชาการและภูมิปัญญาชาวบ้านท้องถิ่น ความสำเร็จถูกสร้างขึ้นด้วยการผสมผสานทั้งเทคนิคการเกษตรสมัยใหม่ควบคู่ไปกับวัฒนธรรมการเกษตรพื้นบ้าน ทั้งในแง่ของการอนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติป่าไม้ และการนำองค์ความรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมชองชาวบ้านเกษตรกรท้องถิ่นมาร่วมกับวิชาการเกษตรและวิชาการพัฒนาที่ดินกลายเป็นเป็นวิถีปฏิบัติอย่างมีเหตุผลตามแนวพระราชดำริ เพื่อให้เป็นแหล่งความรู้ความเข้าใจในการเกษตรที่ต้องอิงอาศัยธรรมชาติอย่างยั่งยืน ให้เกษตรกรในพื้นที่และรอบ ๆ เข้าถึงง่ายในการใช้ประโยชน์และมีส่วนร่วม ชาวบ้านมีรายได้ที่มั่นคง มีความสุขเพียงพอ

วิถีปฏิบัติอย่างมีเหตุผลของคนกับป่า ด้วยวัฒนธรรมพื้นบ้านกับวิชาการสมัยใหม่ ในพื้นที่โครงการเกษตรวิชญา คือทรัพย์ทางปัญญาล้ำค่าอันได้รับพระราชทานจากในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ด้วยพระราชดำริตามรอยพระยุคลบาทในหลวงรัชกาลที่ ๙ อันนับเป็นหนึ่งในพระมหากรุณาธิคุณอันสูงสุดต่อแผ่นดิน ต่อปวงชนชาวไทยและโลกของเรา

“สิ่งใดที่ยังเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ต้องดำเนินการและขับเคลื่อนต่อไป”

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

แกลเลอรี่ภาพ “โครงการเกษตรวิชญา”

อินโฟกราฟิก

The Kaset Wichaya Project

When he was the Crown Prince, King Rama X advised relevant agencies to survey and design a land utilisation plan, as well as water source development in search of proper guidelines/ methods for farming. He suggested appropriate development approach to be taken and types of crops to be planted should be considered based on relevant data acquired. On 18 July 2002, His Majesty the King donated 216 hectares (1,350 rai) of land to the Ministry of Agriculture and Cooperatives and suggested that this plot of land should be used for the conservation and sustainable utilisation of natural resources.
At present, the project has publicised agricultural research and technologies which are compatible with geographical and sociological context via agricultural clinics. The project’s 216 hectares (1,350 rai) of land is divided into five following zones:

Zone 1: The Royal Office Zone occupies 5.12 hectares (32 rai) of land or 2.37 per cent of the project’s total area. Located at the lower eastern part of the project site, atop a high hill, this zone thus offers a clear full view of the project site.

Zone 2: The Government Office Zone occupies 22.08 hectares (138 rai) of land or 10.22 per cent of the project’s total area. This zone is situated at the northeastern part of the project site, spreading across rolling steep slopes, with between 8-30 per cent incline. The majority of soil is rather deep and almost infertile. This zone is partially used for farming whilst some part still remains wasteland.

Zone 3: The Agricultural Development Zone occupies 22.24 hectares (139 rai) of land or 10.30 per cent of the project’s total area. Located in the northwestern part of the project site, it spreads from gentle to medium slopes. The majority of soil is rather deep and well drained, though almost infertile. This zone borders Ban Kong Hae Village.

Zone 4: The Agroforestry Farming/Community Food Bank Zone occupies 19.68 hectares (123 rai) of land or 9.11 per cent of the project’s total area. Covering over rolling slopes which stretch as far as the foot of the hill, this zone is mainly covered with deep and barren soil. Now there are some big trees which should be conserved. The main area of this zone being deteriorated forests should be rehabilitated so that they can become food sources for local communities.

Zone 5: The Forest Zone occupies 146.88 hectares (918 rai) of land or 68 per cent of the project’s total area. With hilly evergreen forests spreading over most part of the zone, it houses headwater sources, which must be conserved in a natural state to maintain a sustainable ecological system. For the parts which have become deteriorated, they must be reforested.

The Kaset Wichaya Project serves as the community’s technology-transfer and service centre. Local farmers have therefore properly been trained. Under the project, forest rehabilitation and occupational development have benefited the locals.

อ้างอิง

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2553). ๓ ทศวรรษ ศูนย์การศึกษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2556). ดิน น้ำ ลม ไฟ สมดุลสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2560). จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2553). ผลสำเร็จโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๘๔ พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2561). ผลสำเร็จจากองค์ความรู้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปี 2560.