โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่ง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในขณะดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ตั้งอยู่ ณ บ้านท่าเยี่ยม ตำบลค้อเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2543 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรบ้านคำน้ำสร้าง ตำบลค้อเหนือ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ในการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานราชการต่าง ๆ พิจารณาช่วยเหลือเรื่องปากท้องของราษฎรในพื้นที่ซึ่งเป็นหมู่บ้านยากจน

ในวันเดียวกันนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสภาพบริเวณหนองอึ่ง ในพื้นที่บ้านท่าเยี่ยม ตำบลค้อเหนือ และมีพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่เพื่อช่วยเหลือราษฎรดังนี้

01

ให้ปรับปรุงขุดลอกหนองอึ่ง เพื่อให้เป็นแหล่งน้ำสำหรับทำการเกษตรและแหล่งเพาะพันธุ์ปลา

02

ให้พัฒนาและปรับปรุงพื้นที่และสภาพดินโดยรอบหนองอึ่ง ปลูกหญ้าแฝก และต้นไม้เพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน

03

ให้ฟื้นฟูสภาพป่าโดยรวม เพื่อให้คนกับป่าอยู่อย่างเกื้อกูลกัน

โครงการได้ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ให้กับประชาชน

ในพื้นที่ในหลากหลายมิติด้วยกัน ได้แก่

ปรับปรุงขุดลอกหนองอึ่งและแหล่งน้ำบริเวณโดยรอบ ดำเนินการขุดลอกหนองน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้วมีปริมาณเก็บกักน้ำได้ 640,530 ลูกบาศก์เมตร

การพัฒนาและปรับปรุงดิน ปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการชะล้างและพังทลายของดินบริเวณขอบหนองอึ่งและสาธิตการทำปุ๋ยหมัก จำนวน 7 ตันใน 7 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 ตัน สาธิตการใช้ปุ๋ยพืชสด รวม 30 ไร่ ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสด จำนวน 50 ไร่

การพัฒนาป่าไม้และป่าชุมชน ทำแปลงสาธิตอาหารชุมชนพื้นที่ 16 ไร่ โดยปลูกหวายดง ไผ่ และพันธุ์ไม้ท้องถิ่น เพาะชำกล้าไม้ 100,000 ต้น จำนวน 30 ชนิด แจกจ่ายให้ราษฎรในพื้นที่ปลูกซ่อมบำรุงป่าเดิม จำนวน 380 ไร่ โดยปลูกต้นไม้ตามแนวเขตป่าชุมชน จัดทำธนาคารอาหารชุมชนในโรงเรียน

ราษฎร จำนวน 6 หมู่บ้าน 693 คน มีน้ำใช้เพื่อการเกษตร และอุปโภค-บริโภค และยังสนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้อีกประมาณ 581 ไร่

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานสนองพระราชดำริ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบัน ได้ทำการพัฒนาในด้านต่างๆ แล้ว คือ ปรับปรุงและขุดลอกหนองอึ่งให้สามารถกักเก็บน้ำได้ประมาณ 640,000 ลูกบาศก์เมตร ส่งเสริมการปลูกต้นไม้เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าโดยรอบหนองอึ่งและ 7 หมู่บ้าน รวมพื้นที่ประมาณ 3,000 ไร่ พัฒนาและปรับปรุงสภาพดินโดยปลูกหญ้าแฝก รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมอาชีพด้านต่างๆ และมีศูนย์เรียนรู้ ได้แก่

การพัฒนาด้านส่งเสริมอาชีพ

เมื่อสภาพป่าไม้สมบูรณ์มากขึ้นและมีผลผลิตจากป่า เช่น เห็ดโคนเป็นจำนวนมาก จึงมีการส่งเสริมการแปรรูปอาหารจากป่าชุมชน การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์อาหารจากป่าชุมชน ได้แก่ การแปรรูปเห็ดโคนและไข่มดแดงในน้ำเกลือโดยบรรจุขวดแก้วและกระป๋อง และฝึกอบรมหลักสูตรจัดตั้งและบริการจัดการกลุ่มอาชีพเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาระบบสหกรณ์ ส่งเสริมกลุ่มอาชีพด้านประมงและฝึกอบรมพัฒนาทักษะการทอผ้า ทำให้ราษฎรมีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากขึ้น

การพัฒนาด้านการเกษตร

เมื่อสภาพป่าไม้สมบูรณ์มากขึ้นและมีผลผลิตจากป่า เช่น เห็ดโคนเป็นจำนวนมาก จึงมีการส่งเสริมการแปรรูปอาหารจากป่าชุมชน การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์อาหารจากป่าชุมชน ได้แก่ การแปรรูปเห็ดโคนและไข่มดแดงในน้ำเกลือโดยบรรจุขวดแก้วและกระป๋อง และฝึกอบรมหลักสูตรจัดตั้งและบริการจัดการกลุ่มอาชีพเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาระบบสหกรณ์ ส่งเสริมกลุ่มอาชีพด้านประมงและฝึกอบรมพัฒนาทักษะการทอผ้า ทำให้ราษฎรมีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากขึ้น

การพัฒนาด้านป่าไม้

เมื่อสภาพป่าไม้สมบูรณ์มากขึ้นและมีผลผลิตจากป่า เช่น เห็ดโคนเป็นจำนวนมาก จึงมีการส่งเสริมการแปรรูปอาหารจากป่าชุมชน การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์อาหารจากป่าชุมชน ได้แก่ การแปรรูปเห็ดโคนและไข่มดแดงในน้ำเกลือโดยบรรจุขวดแก้วและกระป๋อง และฝึกอบรมหลักสูตรจัดตั้งและบริการจัดการกลุ่มอาชีพเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาระบบสหกรณ์ ส่งเสริมกลุ่มอาชีพด้านประมงและฝึกอบรมพัฒนาทักษะการทอผ้า ทำให้ราษฎรมีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากขึ้น

ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มกิจกรรมด้านการพัฒนาอาชีพให้กับราษฎรในพื้นที่โครงการ 7 หมู่บ้าน โดยใช้แนวคิด “ยโสธรโมเดล” ที่เน้นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในจังหวัดและภาคประชาชน มาปรับใช้ในการดำเนินงาน โดยจังหวัดยโสธรได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยโสธร เป็นหน่วยงานหลักในการประสานการดำเนินงาน นอกจากนี้ โครงการยังจะพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่ป่าชุมชนดงมัน จำนวน 3,006 ไร่ และแหล่งน้ำสาธารณประโยชน์หนองอึ่ง ซึ่งมีสภาพค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงนิเวศให้ผู้สนใจเดินทางไปศึกษาดูงาน

“…ในยุครัชกาลที่ ๙ มีพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง ในยุคนี้คือเกษตร เกษตรคือประเทศ ก็คือผืนดิน (Sustainable Agronomy) คืออารยประเทศ เกษตรประเทศ ก็คืออารยประเทศ ทำได้โดยประยุกต์หลายๆ ทฤษฎีที่ได้ทรงรับสั่งไว้…“

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
29 มกราคม 2564

แกลเลอรี่ภาพ “โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่ง ”

อินโฟกราฟิก

The Royal-initiated Nong Ueng Area Development Project

This royally-initiated project is in Kho Nuea Subdistrict, Mueang Yasothon District, Yasothon Province. While accompanying their Royal Highnesses King Rama IX and Queen Sirikit on 28 November 2000, King Rama X, who was the Crown Prince at that time, advised the officials to dredge the Nong Ueng Swamp so that it could provide water for agriculture and serve as a fish breeding environs, to improve the area and the soil condition around the Nong Ueng Swamp, as well as growing vetiver grass and trees to prevent surface soil from being eroded, and to rehabilitate local forests as a whole in order to promote the symbiosis between forest and human. The Nong Ueng Swamp area covering 24.80 hectares (155 rai) was then dredged for the swamp depth of 2.50 metres in order to achieve the waterretaining capacity of 640,530 cubic metres. A 6-metrewide earthen embankment was also erected around the swamp with adjoining structures. To prevent the surface soil from being eroded, vetiver grass was planted along the entire embankment. Also, a total of 11 arches displaying useful information on natural resources were erected in the area of the natural classroom project at the Dong Man Community Forest. There are also the following activities: studying and developing techniques to increase wild mushrooms in the community forest; planting bamboos to create a buffer zone and provide food for the community; planting more trees in lowland floodplain forest; procuring seedlings for locals to grow precious trees; enhancing the watershed ecological system in the Dong Man Community Forest; cultivating rubber seedlings; and cultivating mycorrhiza or fungus-root in mushrooms. In addition, this project has trained and promoted 300 local members of the forest conservation network according to the royal initiative. An agreement has also been made on the management of the Nong Ueng Community’s water source to obtain the maximum benefits for all parties and for minimising impacts from excessive resource usage.

Moreover, agricultural plots of land were also designated to become a Community Food and Herbs Bank. To promote conservation, the project has developed and strengthened forest networks in 15 villages in response to the royal initiative. A youth network has been developed in six schools in accordance with a royal initiative on forestry teachers. Under the project, forestry development training has also been conducted for 60 participants.

People would acquire additional knowledge and support regarding basic production factors for their livelihoods. Furthermore, knowledge of natural resource management would also transfer to the local populace so as to strengthen networks for natural resource conservation and management.

อ้างอิง

โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่ง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดยโสธร สำนักงาน กปร. (n.d.). โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่ง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดยโสธร. https://www.facebook.com/profile.php?id=100068858874497&sk=photos
จากโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่งฯ สู่ยโสธรโมเดล. (2021, July 29). สยามรัฐ. https://siamrath.co.th/n/266252 สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2553). ๓ ทศวรรษ ศูนย์การศึกษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2556). ดิน น้ำ ลม ไฟ สมดุลสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2560). จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2553). ผลสำเร็จโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๘๔ พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา.