โครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2545 “ให้พิจารณาใช้คลองลัดโพธิ์ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นทางลัดระบายน้ำเหนือ ซึ่งจะทำให้ช่วยระบายน้ำได้เร็วเพราะระยะทางสั้นเพียง 600 เมตร ก็ออกทะเลหากวันใดมีน้ำทะเลขึ้นสูงก็ปิดประตูไม่ให้น้ำทะเลเข้ามา” โครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ฯ ตั้งอยู่ในบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง สร้างเสร็จเมื่อปี 2548 สามารถร่นระยะทางการระบายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาจาก 18 กิโลเมตร เหลือ 600 เมตร และลดเวลาจาก 5 ชั่วโมง เหลือเพียง 10 นาที ประสิทธิภาพการระบายน้ำสูงสุดเฉลี่ย 45-50 ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน ทำให้ช่วยลดผลกระทบน้ำท่วมต่อพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ลัดโพธิ์-ลัดน้ำ

คลองลัดโพธิ์ เป็นอีก 1 ใน 4,685 โครงการในพระราชดำริ ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงจัดตั้งขึ้น เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลมากว่า 20 ปี และเป็นหนึ่งในโครงการด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ โดยการเบี่ยงน้ำเพื่อช่วยย่นระยะทางการระบายไปสู่อ่าวไทยเมื่อเกิดน้ำล้น และปิดกั้นน้ำไม่ให้น้ำทะลักเข้าไปยังพื้นที่ทะเลในช่วงทะเลหนุนสูง ตั้งอยู่ที่ตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ในอดีตเป็นที่สัญจรทางเรือ เป็นแหล่งเพาะปลูกและระบายน้ำสู่ทะเลอ่าวไทย แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความเป็นเมืองพัฒนามากขึ้น แนวคลองจึงถูกถมเพื่อการพัฒนาสร้างที่อยู่อาศัย สร้างถนนต่าง ๆ รวมทั้งขาดการดูแลรักษาคลอง ทำให้จากเดิมที่คลองมีความกว้าง 5 – 10 เมตร ลดเหลือเพียง 1 – 2 เมตรเท่านั้น

จากนั้นในปี พ.ศ. 2538 เกิดน้ำท่วมใหญ่ ทำให้ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงเล็งเห็นว่า หากปล่อยไปแบบนี้น่าจะทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ขึ้นอีกเรื่อย ๆ จึงทรงมีรับสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขุดลอกคูคลองให้มีความกว้าง 7 เมตร ยาว 80 เมตร เพื่อช่วยให้น้ำระบายออกสู่อ่าวไทยได้เร็วขึ้น ซึ่งแต่เดิม กว่าน้ำจะระบายออกสู่อ่าวไทยนั้นใช้เวลามากกว่า 5 ชั่วโมง แต่หลังจากที่มีการขุดลอกคลองลัดโพธิ์ จะใช้เวลาในการระบายน้ำลงสู่อ่าวไทยเพียง 10 นาทีเท่านั้น

พระอัจฉริยภาพ

ในวันที่ 4 ธันวาคม 2549 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานดำรัสไว้ ดังนี้

“ที่พระประแดง ที่มีอุปกรณ์ที่เวลาน้ำขึ้น กักเอาไว้ แล้วเวลาน้ำลง ปล่อยให้ลง คือ ที่คลอง คนแก่จำไม่ได้แล้ว และได้ทำโครงการที่จะปล่อยน้ำไปได้ เวลาน้ำลง แล้วก็เวลาน้ำขึ้นก็ปิดเอาไว้ ดังนั้น คลอง 600 เมตร ถ้าเปิด มันก็ทะลักเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา ถ้าปิด น้ำจะอ้อมไป นี่วิธีที่จะบริหารน้ำให้ดี ก็คือ วิธีการให้ทราบว่าเวลาไหนน้ำกำลังขึ้น ปล่อยให้ออกไป พอไปทางคลองเตย กว่าจะถึงตรงปลาย น้ำก็ลง พอน้ำขึ้นเป็นเวลา แล้วเวลาลงเป็นเวลา แต่ว่าเวลาน้ำขึ้น เขียนเอาไว้ว่าขึ้นเวลานั้น ๆ สูง 2 เมตร 2 เมตรกว่า เวลาน้ำลง น้ำก็จะลง ลงไป ทำให้เป็นจังหวะ ถ้าไม่ได้จังหวะ เปิดประตูน้ำเวลาน้ำขึ้น มันก็ทะลักเข้ามา ก็เข้ามาอาจจะท่วมได้ น้ำอาจจะขึ้นไปสูงกว่า 2 เมตร น้ำมันขึ้น 2 เมตร 20 – 2 เมตร 30 แต่ว่าถ้าเราปิดในเวลานั้น น้ำก็ไม่ทะลักมาในถนนในกรุงเทพฯ เวลาน้ำลงก็ปล่อย หมายความว่า ต้องให้ตรง มันเป็นเวลา ถ้าทำเป็นเวลาแล้วน้ำไม่ท่วมกรุงเทพฯ เดี๋ยวนี้กรุงเทพฯ ก็ต้องท่วม แต่ว่าถ้าไม่ทำให้ถูกต้อง ถูกเวลา ถ้าฝนตกด้วย ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่น่าจะฝนตก แต่ว่ามีฝนตกน้ำท่วม ถ้าน้ำท่วมรถแล่นไปก็จมน้ำ ฉะนั้น ผู้ที่มีหน้าที่ไม่ได้ทำ แต่ตอนนี้เขาต้องทำ บอกเขา เขาทำให้ ปล่อยน้ำเวลาน้ำมันลง น้ำขึ้นก็กักเอาไว้ มีทุกอย่าง มีแห่งเดียวที่มีอุปกรณ์ ที่อื่นก็ควรจะทำ รอมาหลายปีแล้ว ควรจะทำได้ แต่ต้องลงทุนไม่ใช่น้อย ข้อสำคัญต้องลงแรง ตามคลองชายทะเลก็เคยมี เมื่อ 9 ปี เมื่อปี 38 ส่งองครักษ์ไปดู ไปดูส่วนมากเป็นตอนกลางคืน เห็นคนนอนหลับสบายที่ชายทะเล ปกติไปทางใต้เพราะว่า จะเปิดไหม เพราะว่าเขาไม่ได้บอกให้เปิดก็ไม่ปิด ปิดหรือเปล่า เขาไม่ได้บอกให้ปิด น้ำทะลักเข้ามาก็ท่วมในคลอง คลองก็มาท่วม จากชายทะเลแต่ถ้าทำถูกจังหวะน้ำไม่เกิด ตอนที่ทำทางฝ่ายรัฐบาลก็จะไม่รู้เรื่องว่าจะเป็นอย่างไร คนที่ชายทะเล ที่นอนสบายเขาบอก คุณมาจากไหน รู้ได้อย่างไร น้ำขึ้นจริง ๆ นะ เขานึกว่า ทำไมมาบอก รู้ว่าขึ้นทำไมไม่ปิด รู้ว่าลงไม่เปิด แล้วเขาถาม เป็นนายพล นายพลมาจากไหน มาจากในวัง ก็เลยเข้าใจว่ารู้เรื่อง ทำไมรู้เรื่อง เขาก็เชื่อ แต่ว่านายไม่เชื่อ นายผู้ใหญ่ต่าง ๆ เขาไม่ได้สั่งว่าเวลานั้นต้องเปิดต้องปิด ที่ต้องเปิดต้องปิดเวลานี้ เพราะว่าน้ำไม่คอยใคร น้ำขึ้นน้ำลง ท่านเป็นทหารเรือก็รู้เรื่องว่าน้ำขึ้นลงเวลาไหน ต้องรู้ น้ำขึ้น น้ำลง แล้วช่วยป้องกันไม่ให้น้ำท่วม ตัวเขานอนสบายแต่ว่าคนที่อยู่ข้างในทุกข์

ฉะนั้น เดี๋ยวนี้ยังมีเวลาที่จะแก้ไข ไม่อย่างนั้นถึงปีใหม่น้ำก็ท่วมอีก ก็เลยบอกว่าท่านที่มีหน้าที่ไปดู เราต้องไป เขาไม่เห็นแต่อย่างไรก็น่าจะไป 2 วัน 3 วันนี้ ก็จะไปดู เพราะว่ายังจำเป็นที่จะดู แต่ว่าเห็นเป็นอย่างนี้ อาจจะไปไม่ได้ ปวดหลัง ก็เลยไม่ได้ไป แต่ที่สมเด็จพระบรมฯ กับสมเด็จพระเทพฯ ไป มันต้องมีเรื่องเวลาให้เหมาะสม ให้ถูกต้อง ทางกรมชลประทาน บอกว่า ปลายปีก็หมดแล้ว ปลายปีนี้ยังมีอีกเดือน แล้วฝนก็ยังไม่หมด ต้องทำให้ถูกต้อง เพราะเชื่อว่า มันจะไม่ช้าเกินไป จวนจะหมดฤดูกาลแล้ว แต่ว่ามาพูดเพราะว่าที่ผ่านมาพูดไม่มีใครได้ยิน เสียงมันแหบ วันนี้เสียงนับว่าดี ได้แจ้งให้ทราบว่าจะต้องทำอย่างไรสำหรับในน้ำท่วม”

คลองลัดโพธิ์ในวันนี้

ในปัจจุบันนี้ มีการติดตั้งประตูระบายน้ำเพื่อใช้ควบคุมน้ำ ในเวลาที่น้ำทะเลหนุนก็ปิดประตูเพื่อป้องกันปัญหาน้ำล้นตลิ่ง และเมื่อเกิดน้ำท่วมขังก็สามารถเปิดประตูเพื่อระบายน้ำได้ทันท่วงที อย่างไรก็ตาม คลองลัดโพธิ์ไม่ได้ทำหน้าที่เพียงเพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่กรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ยังมีการติดตั้งเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานสะอาด โดยกรมชลประทานได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการค้นคว้าและวิจัยกังหันไฟฟ้าพลังงานน้ำ เพื่อพัฒนาเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าจากการระบายน้ำให้มากที่สุด และยังเป็นต้นแบบกังหันน้ำที่ถูกน้ำไปติดตั้งที่ประตูระบายน้ำทั่วประเทศด้วย เพราะพลังงานน้ำที่ว่านี้ถือเป็นพลังงานสะอาด และพลังงานทางเลือกที่ช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้เป็นอย่างดี

จุด Check in

“คลองลัดโพธิ์” นอกจากจะช่วยป้องกันเรื่องภัยน้ำท่วมได้แล้ว ทุกวันนี้บริเวณละแวกคลองลัดโพธิ์ยังได้กลายมาเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ ที่มีความน่าสนใจและเชิญชวนให้ไปเที่ยวกัน เพราะบริเวณคลองลัดโพธิ์ได้จัดทำเป็นสวนสาธารณะ ชื่อ “สวนสุขภาพลัดโพธิ์” ที่มีความร่นรื่นด้วยต้นไม่น้อยใหญ่ ให้ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อยใจ ออกกำลังกายได้ โดยบริเวณใกล้เคียงกับคลองลัดโพธิ์ก็ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ อาทิ ชุมชนคลองบางกะเจ้า, สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า“สวนบางกระเจ้า” และ“ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง” เป็นต้น

“…คลอง 600 เมตร ถ้าเปิด มันก็ทะลักเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา ถ้าปิด น้ำจะอ้อมไป นี่วิธีที่จะบริหารน้ำให้ดี ก็คือ วิธีการให้ทราบว่าเวลาไหนน้ำกำลังขึ้น ปล่อยให้ออกไป…”

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 4 ธันวาคม 2549

แกลเลอรี่ภาพ “โครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์”

อินโฟกราฟิก

Lat Pho Canal Project to Tackle Flooding in Bangkok

In the past, Bangkok and its vicinity were affected by heavy flooding, mainly due to the arrival of floodwater from the North coinciding with high tides around October and November. As a result, Bangkok, which is Thailand’s economic center, suffered a great loss from the flood-related damage. Aware of this problem, His Majesty the King suggested that Khlong Lat Pho, a short-cut canal, in Samut Prakan be improved in Bang Krachao subdistrict for greater efficiency in facilitating the water flow. Initially, the Lat Pho Canal was only 10-15 meters wide at a depth of just 1-2 meters.

          In response to His Majesty’s initiative, the Royal Irrigation Department launched the Royally Initiated Lat Pho Improvement Project in 2003 and the project was completed in 2005. The purpose was to increase the width and depth of the short-cut canal to drain floodwater into the sea more quickly. With this improvement project, the water flow from the Chao Phraya River now travels only 600 meters, as against the 18 kilometers of the natural course, reducing the time for the flow from five hours to just 10 minutes. The project can now lower water levels in the lower Chao Phraya basin by draining about 40 million cubic meters of water a day to the Gulf of Thailand.

          Moreover, the floodgates of the Lat Pho Canal are opened and closed on various occasions. For instance, they will be closed during the drought season to prevent the return of seawater to the Chao Phraya River. During the high tide of seawater, the floodgates will be closed, as well, and they will be opened when the seawater recedes.

          Later, on 17 November 2006, His Majesty the King recommended that a study be conducted on the use of hydropower drained through the Lat Pho Canal. He said, “The Lat Pho Canal project will bring about enormous benefit, if its drained water can also be use for other purposes.”

          In response to His Majesty’s wishes, the Royal Irrigation Department and Kasetsart University have joined forces in inventing a dynamo and perform experiments on model turbine power based on water passing through this short-cut canal. Kasetsart University is in the process of registering a patent for the invented dynamo on behalf of His Majesty the King. The patent registration will be presented to Majesty the King in recognition of his innovation.

 

อ้างอิง

คลองลัดโพธิ์ แก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ตามแนวพระราชดำริ. (n.d.). krungsri.com. https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/klonglatpho-solution-for-bangkok-flood
โครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสมุทรปราการ. (n.d.).สำนักงาน กปร. https://www.rdpb.go.th/th/Projects/แนะนำโครงการ-c38/โครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระร-v7332
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2556). ดิน น้ำ ลม ไฟ สมดุลสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2560). จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2553). ผลสำเร็จโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๘๔ พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา. Long live the King. (n.d.). สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. https://122.155.92.12/nnt_en/King87en/Relatearticles.html