จากการแก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย  โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ช่วยพลิกฟื้นและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและน้ำเน่าเสีย ฟื้นฟูสภาพป่าชายเลน บริเวณลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี โดยเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2533 ทรงให้มูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงาน กปร. กรมชลประทาน และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกันศึกษาวิธีแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับขยะมูลฝอยและน้ำเสียในชุมชน ซึ่งมีผลต่อการรักษาสภาพป่าชายเลนด้วยวิธีการทางธรรมชาติและรักษาธรรมชาติ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เริ่มดำเนินงานศึกษาวิจัยตามโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา โดยดำเนินการในพื้นที่สาธารณประโยชน์ ณ ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ประมาณ 642 ไร่ สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 1 ใน 5 ของเทศบาลเมืองเพชรบุรี ส่งไปตามท่อยาวกว่า 18 กิโลเมตร เพื่อเข้าสู่ระบบบำบัด

พระราชดำริในการบำบัดน้ำเสีย “ 4 ระบบ ”

ประกอบด้วย

เกิดเป็นศูนย์ศึกษาเรียนรู้ เพื่อกาพัฒนาสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ทำหน้าที่เป็นสถานที่จัดการประชุม อบรมสัมมนา และการบรรยายความรู้เกี่ยวกับการ ดำเนินงานด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ ที่มีความพร้อมสมบูรณ์สามารถรองรับผู้มาศึกษาดูงานและผู้สนใจทั่วไปได้อย่างเพียงพอ มีการแสดงนิทรรศการและผลงานทางวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความทันสมัยและมีความพร้อมของระบบต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ตลอดจนผู้มาเยี่ยมชมและผู้ที่สนใจทั่วไป และมีการให้การสนับสนุนการให้บริการศึกษาดูงานและฟังการบรรยาย รวมถึงอำนวยความสะดวกด้านสาธารณูปโภคแก่คณะเยี่ยมชมและศึกษาดูงานโครงการฯ ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี รวมทั้งเป็นพื้นที่ต้นแบบในการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสียโดยวิธีการธรรมชาติช่วยธรรมชาติตามแนวพระราชดำริ เพื่อเผยแพร่สู่ประชาชนที่สนใจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

“…ธรรมชาติแวดล้อมของเรา ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน ป่าไม้ แม่น้ำ ทะเล และอากาศ มิได้เป็นเพียงสิ่ง สวยๆ งามๆ เท่านั้น หากแต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของเรา และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของเราไว้ให้ดีนี้ ก็เท่ากับเป็นการปกปักรักษาอนาคตไว้ให้ลูกหลานของเราด้วย…”

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานในการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธี เฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2521

แกลเลอรี่ภาพ “แหลมผักเบี้ย ”

อินโฟกราฟิก

The Laem Phak Bia Environmental Research and Development Project (LERD)

The Laem Phak Bia Environmental Research and Development Project (LERD), a Royal initiative of the Chaipattana Foundation in Rayong Province, aims to provide communities and organizations in Thailand with the environmental knowledge necessary to implement natural waste and wastewater treatment techniques. The organization researches and develops natural wastewater and waste treatment methods. While continuing to research environmental waste treatment techniques, LERD has also raised awareness and provided communities, where Avicennia marina is dominant, and businesses with the environmental knowledge necessary to implement LERD’s methods throughout Thailand. Wastewater treatment models developed by LERD include: oxidation pond treatment systems, grass filtration systems, artificially constructed wetland systems, and mangrove ecosystems. Solid waste treatment includes “concrete box” composting. These treatments are purely natural means that involve aerobic organic matter decomposition, and can be effective from 90 days to 15 years, depending on the technique.

The researched environmental methods have been adapted for wide implementation throughout Thai communities and industries. To increase the implementation of the environmental methods in Thailand, the outreach efforts of LERD need to be optimized to more widely disseminate these commendable activities to a wider audience. In order to achieve an effective outreach program, it is essential to assess the strategy of outreach programs, to provide a firm basis for growth. Our team researched on useful outreach strategies including effective learning centers, evaluation models, and educational media that have been successfully used in previous outreach programs from different organizations around the world.

อ้างอิง

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2556). ดิน น้ำ ลม ไฟ สมดุลสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2560). จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที.

สำนักงานประสานงานโครงการพื้นที่ 1. (2021, March 1). โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. สำนักงาน กปร. https://www.rdpb.go.th/th/Projects/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D-c38/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B 

Hoyte et.al. (2012, March 2). Assessment of The Laem Phak Bia Environmental Research and Development Project’s Out Reach Program. Worcester Polytechnic Institute (WPI). https://web.wpi.edu/Pubs/E-project/Available/E-project-030112-051220/unrestricted/IQPSSP5_Final_Report_-_Assessment_of_LERDs_Outreach_Program.pdf