ที่มาของเขื่อนอเนกประสงค์   วันที่ 4 ธันวาคม ปี 2536 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาวาง โครงการและก่อสร้างเขื่อนคลองท่าด่าน ที่บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำนครนายกตอนบน เพื่อช่วยให้ราษฎรทางตอนล่างเก็บกักน้ำและจัดสรรน้ำอย่างเป็นระบบ สำหรับพื้นที่ทำการเกษตรรวมทั้งแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคของจังหวัดการอุปโภคบริโภค รวมทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัยที่มักจะเกิดขึ้นในเขตจังหวัดนครนายกเป็นเป็นประจำทุกปี เพื่อการอุตสาหกรรม และเพื่อการแก้ไขพื้นที่ดินเปรี้ยวอีกด้วย “เขื่อนขุนด่านปราการชล” เริ่มดำเนินงานก่อสร้างวันที่ 2 พฤศจิกายน 2542 แล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2547 และเริ่มเก็บกักน้ำในเดือนตุลาคม 2548

สภาพทั่วไปของ “ขุนด่าน” ​

01

ลักษณะภูมิประเทศ อ่างเก็บน้ำเขื่อนขุนด่านปราการชล อยู่ในลุ่มน้ำนครนายก ซึ่งเป็นลุ่มน้ำย่อย ของลุ่มน้ำบางปะกง ลุ่มน้ำนครนายกครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอบ้านนา อำเภอปากพลี และอำเภอองครักษ์ของจังหวัดนครนายก มีเนื้อที่ 2,433 ตาราง-กิโลเมตร ต้นน้ำของแม่น้ำนครนยกเกิดจากเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งติดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มียอดเขาสูงประมาณ 1,000 – 1,300 เมตร

02

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของลุ่มน้ำนครนายก ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม

03

สภาพน้ำฝน เนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำมีเทือกเขาดงพญาเย็น (เขาใหญ่) อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแนวปะทะของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุก โดยเฉลี่ยประมาณ 2,600 ถึง 2,900 มม./ปี

04

สภาพน้ำท่า ของอ่างเก็บน้ำเขื่อนขุนด่านปราการชล ข้อมูลน้ำท่าเฉลี่ยมากที่สุดเดือนสิงหาคม มีปริมาณ 70.87 ล้าน ลบ.ม. น้ำท่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเดือนมีนาคม มีปริมาณ 0.66 ล้าน ลบ.ม.รวมปริมาณน้ำเฉลี่ยทั้งหมด 292.45 ล้าน ลบ.ม.

รายละเอียดของ “ขุนด่าน”

เป็นโครงการก่อสร้างเขื่อนหัวงานและอาคารประกอบพร้อมส่วนประกอบอื่น มีขนาดความจุอ่างเก็บน้ำ 224 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ผิวอ่างฯ ที่ระดับเก็บกักปกติรวม 3,087 ไร่

เขื่อนหัวงานและอาคารประกอบ

ประกอบด้วย

01

เขื่อนหลัก (Main Dam)

เป็นเขื่อนคอนกรีตบดอัด (Roller Compacted Concrete หรือ RCC Dam) สูง 93 เมตร ระดับสันเขื่อน+112 ม.รทก. ความยาว 2,594 เมตร ปริมาตรคอนกรีตบดอัด 5,470,000 ลูกบาศก์เมตรพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ และ การขยายพันธุ์พืช

02

อาคารระบายน้ำล้น (Spillway)

เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 1,454 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ผ่านช่องระบาย 4 ช่อง มีรูปลักษณะเป็นฝายที่ระดับ +103.50 ม.รทก. ซึ่งควบคุมด้วย Radial Gate 4 ชุด ขนาดชุดละ 10.00 x 8.40 เมตร

03

อาคารระบายน้ำลงลำน้ำเดิม (River Outlet)

เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ควบคุมอัตราการไหลโดย Fixed Wheel Gate ขนาด 2.00 x 5.00 เมตร และ Butterfly Valve ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.0 เมตร โดยมีระดับธรณีท่อ +28.50 ม.รทก. ระบายผ่านท่อเหล็ก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.0 เมตร และควบคุมการปล่อยลงท้ายน้ำด้วย Hollow Jet Valve Ø 1.80 เมตร สามารถระบายน้ำได้ 42 ลูกบาศก์เมตร/วินาที

04

อาคารระบายน้ำ (Bottom Outlet)

เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มีระดับธรณี +29.00 ม.รทก. ระบายน้ำผ่านช่องขนาดกว้าง 5.0 เมตร สูง 3.0 เมตร ควบคุมการไหลโดย Fixed Wheel Gate ขนาด 2.50 x 3.90 เมตร และ Radial Gate ขนาด 2.50 x 3.45 เมตร สามารถระบายน้ำได้ 182.0 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ซึ่งสามารถลดระดับน้ำจากระดับเก็บกักที่ + 110.00 ม.รทก. ลงมาที่ระดับ +70.00 ม.รทก. ภายใน 10 วัน

05

อาคารส่งน้ำเข้าคลองชลประทาน (lrrigation Outlet)

เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ระบายน้ำผ่านท่อสแตนเลส ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.90 เมตร จำนวน 1 ท่อ มีระดับธรณี +38.45 ม.รทก. ควบคุมการไหลโดย Fixed Wheel Gate และ Butterfly Valve ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.70 เมตร รวม 2 ชุด ระบายน้ำลงคลองชลประทานโดย Hollow Jet Valve ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.70 เมตร (2 ชุด) สามารถส่งน้ำเข้าคลองได้รวม 6.05 ลูกบาศก์เมตร/วินาที

06

อาคารผันน้ำระหว่างการก่อสร้างเขื่อน ประกอบด้วย

ทำนบดินปิดกั้นลำน้ำเดิม ขนาดสูง 12.00 เมตร ระดับสันทำนบ +39.00 ม.รทก. กว้าง 5.00 เมตร ความยาวรวม 1,084 เมตร อาคารคอนกรีต Retaining Wall ด้านเหนือน้ำและท้ายน้ำ ขนาดความสูง 12.00 เมตร และ 13.00 เมตร ตามลำดับ อาคารผันน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กแบบ 2 ช่อง ขนาด 7.00 x 9.00 เมตร และ 6.00 x 9.00 เมตร สามารถระบายน้ำได้ 700 ลูกบาศก์เมตร/วินาที (Return Period 20 ปี) โดยมีระดับธรณี +27.00 ม.รทก.

05

เขื่อนดินปิดช่องเขาต่ำ (Saddle Dam)

เป็นเขื่อนดินสูง 46.0 เมตร สันเขื่อนที่ระดับ +114 ม.รทก. กว้าง 8.0 เมตร ยาว 350 เมตร ปริมาตรเขื่อน 1,220,000 ลูกบาศก์เมตร

ระบบส่งน้ำและระบบระบายน้ำ

ประกอบด้วย

พื้นที่โครงการท่าด่านเดิมและส่วนขยาย

20,000

ไร่

พื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครนายก

165,000

ไร่

“ขุนด่าน”สานประโยชน์

ด้านการเกษตร

ส่งน้ำเพื่อการเกษตรให้กับพื้นที่รวม 185,000 ไร่ พร้อมทั้งวางแผนการปลูกพืช (พืชฤดูฝน 185,000 ไร่ พืชฤดูแล้ง 62,000 ไร่) มีเกษตรกรได้รับประโยชน์จำนวน 96 หมู่บ้าน 9,104 ครัวเรือน

ด้านการอุปโภค-บริโภค

การส่งน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภค-บริโภค ของประชาชนในเขตเมืองนครนายก และเขตพื้นที่ส่งน้ำของโครงการฯ จำนวน 16 ล้านลูกบาศก์เมตร ต่อปี และส่งน้ำเพื่อใช้สอยสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 5 ล้านลูกบาศก์เมตร ต่อปี

ด้านการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว

พื้นที่ดินเปรี้ยวส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ตอนล่างของพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครนายก 165,000 ไร่ แต่อย่างไรก็ตาม ได้มีการผันน้ำจากเขื่อนขุนด่านปราการชลชำระล้างดินเปรี้ยวด้วยการส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่การเกษตร ดังกล่าว ควบคู่กับการปรับปรุงบำรุงดินโดยการใช้ปูนขาวเพื่อลดความเป็นกรด และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์โดยใช้ปุ๋ยพืชสด ทำให้สามารถเพาะปลูกมีผลผลิตมากขึ้น

ด้านการป้องกันบรรเทาปัญหาอุทกภัย

เขื่อนขุนด่านปราการชล มีความจุ 224 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นปริมาณน้ำร้อยละ 23 ของปริมาณน้ำเฉลี่ยทั้งหมดของลุ่มน้ำนครนายก ซึ่งสามารถป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดนครนายกได้ และยังช่วยลดปริมาณน้ำในแม่น้ำนครนายก ทำให้ระบายน้ำจากกรุงเทพมหานครผ่านคลองรังสิตมายังแม่น้ำนครนายกได้มากขึ้น

การเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำใต้ดิน

พื้นที่การเกษตร 20,000 ไร่ มีปริมาณน้ำใต้ดินเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เห็นได้จาก บ่อน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภค–บริโภคในครัวเรือนมีน้ำตลอดปีจากเดิมที่จะแห้งในช่วงฤดูแล้ง และจากผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำใต้ดินพบว่า ในพื้นที่อำเภอองครักษ์และอำเภอเมืองบางส่วนมีระดับน้ำใต้ดินสูงขึ้น โดยระดับน้ำลึกจากผิวดินทั่วไปประมาณ 1-1.5 เมตร

ด้านการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำและประมง

เขื่อนขุนด่านปราการชลจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำขนาดใหญ่ ได้แก่ ปลาชนิดต่าง ๆ และกุ้งก้ามกราม โดยตั้งแต่ปี 2548 ถึงปัจจุบันได้ปล่อยสัตว์น้ำไปแล้วมากกว่า 20 ล้านตัว ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเป็นแหล่งอาหารแก่ประชาชน

ด้านการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว

การระบายน้ำของเขื่อนขุนด่านปราการชลลงลำน้ำเดิมเพื่อรักษาระบบนิเวศน์ปีละ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งผลประโยชน์ต่อการพัฒนาและส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครนายก โดยเฉพาะในวันเสาร์และอาทิตย์ มีการปล่อยน้ำปริมาณ 100,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยว ทำให้เขื่อนขุนด่านปราการชลเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ที่มีภูมิทัศน์ที่สวยงามและเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ โดยปัจจุบันนักท่องเที่ยวสามารถล่องแก่งในลำน้ำได้ตลอดปี ส่งผลให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยว

“…การสร้างแหล่งน้ำผิวดินเพื่อกักเก็บรวบรวมทรัพยากรน้ำไว้ ประกอบกับการพัฒนาระบบชลประทานเพื่อควบคุมระดับน้ำจะบรรเทาปัญหาน้ำท่วม ทั้งยังช่วยป้อนน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรได้อย่างพอเพียง ชะล้างความเป็นกรดให้หมดไปจากผืนดิน ท้ายสุดผลประโยชน์ก็จะตกกับชาวไร่ชาวนาและประชาชนโดยถ้วนหน้า…”

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

แกลเลอรี่ภาพ "เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ"

อินโฟกราฟิก

Khun Dan Prakarn Chol Dam

On December 4, 1993, on the occasion of the royal birthday, King Rama IX delivered a speech to consider the project of Khun Dan Prakan Chon Dam at Ban Tha Dan Village, Hin Tung Sub-district, Mueang Nakhon Nayok District in Nakhon Nayok Province. The purpose is to help relieve the frequent floods in the area of Nakhon Nayok River with an irrigation system, help citizens to have water for agricultural activities and consumption, solve the problem of acid soil, and give citizens a better quality of life. On June 2, 2001, His Majesty King Rama IX along with Princess Maha Chakri Sirindhorn graciously laid the foundation stone for Khun Dan Prakan Chon Dam. 

The watershed is influenced by the southwest monsoon between May and October which results in heavy rainfall around 1,500 – 2,000 millimeters per year or 87 percent. From June to October, it is also a period when the streamflow is highest at 93 percent of the average year-round streamflow. The rainfall creates floods which cause damage to households, rice fields and agricultural areas. The reservoir cannot store all surplus water, and although the watershed has small and medium irrigation systems such as diversion dams, it is not enough to prevent flooding during the rainy season, nor enough to be stored for use during the dry season. In some areas that experience long periods of flood alternating with drought, the condition of the soil becomes acidic called “acid soil” which causes serious damage to farming products in Nakhon Nayok Province. For this reason, the Khun Dan Prakan Chon Dam Project is determined to solve the problem of flood, drought and acid soil by developing a water source and large irrigation system that can store and allocate water orderly with enough water for various activities in and around the area of Nakhon Nayok River. 

The dam help to reduce the use of fuel that affects the environment, generate electricity from clean energy 27.99 million units/year, decrease fuel import, support the study and research of renewable energy, increase the total capacity of the country, create jobs for locals during the construction, and strengthen stability for the power system. 

The dam has become a landmark for Nakon Nayok Province, where visitors can also enjoy nearby attractions such as Nang Rong Waterfall, Wang Ta Krai Waterfall, Sarika Waterfall, Luang Phor Pak Daeng Temple, and Prapiganesh Park.

อ้างอิง

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2556). ดิน น้ำ ลม ไฟ สมดุลสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2560). จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2553). ผลสำเร็จโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๘๔ พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา.
Tantiwattanapanich, K. (n.d.). Khun Dan Prakan Chon dam. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. https://www.egat.co.th/en/information/power-plants-and-dams?view=article&id=480
Www.EZYNOW.com. (n.d.). โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา เขื่อนขุนด่านปราการชล จ. นครนายก. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา เขื่อนขุนด่านปราการชล จ. นครนายก. https://www.khundan.com/home.php