สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นโครงการส่วนพระองค์ ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระราชดำริว่าพื้นที่ “หมู่บ้านผักไผ่” มีภูมิอากาศหนาว เหมาะแก่การเพาะปลูกไม้ผลเมืองหนาว จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ ใช้เป็นสถานีวิจัยและทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิดต่าง ๆ เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขาในการนำพืชเหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ และ ต่อมาทรงพระราชทานนามว่า “สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง”

เริ่มจากโครงการหลวง

โครงการหลวงได้เริ่มงานวิจัยเพื่อทดลองการปลูกไม้ผลเขตหนาวที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่สูงของประเทศไทย โดยได้ตั้งสถานีเกษตรหลวงอ่างขางเพื่อเป็นสถานีทดลองการปลูกพืชเขตหนาวชนิดต่าง ๆ เป็นแห่งแรก บนหุบเขาสูงของดอยอ่างขาง ตำบลม่อนปิน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2512

ดอยอ่างขางเป็นพื้นที่อยู่ตอนเหนือ เกือบติดขอบสุดของประเทศไทย บริเวณสถานีโครงการฯ เป็นหุบเขาทอดยาว ล้อมรอบไปด้วยภูเขาทุกด้าน ด้านเหนือติดประเทศพม่า มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400 เมตร บรรยากาศหนาวเย็น ในห้วงเวลานั้นมีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าคา ช่วงฤดูหนาวมีการฝิ่นปลูกอยู่ทั่วไป

พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1,500 บาท เพื่อซื้อที่ดินและไร่จากชาวเขาในบริเวณดอยอ่างขางส่วนหนึ่ง เพื่อตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อ พ.ศ. 2512 ใช้เป็นสถานีวิจัยและทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ผัก ไม้ดอก เมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขาในการนำพืชเหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ ต่อมาทรงพระราชทานนามว่า “สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง” มีพื้นที่ทำการเกษตรในงานวิจัยประมาณ 1,989 ไร่ มีหมู่บ้านชาวเขาที่ทางสถานีฯ ให้การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ จำนวน 9 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหลวง บ้านคุ้ม บ้านนอแล บ้านปางม้า บ้านป่าคา บ้านขอบด้ง บ้านผาแดง บ้านสินชัย และบ้านถ้ำง๊อบ ที่มีประชากรชาวเขา 4 เผ่าด้วยกัน ได้แก่ ไทยใหญ่ มูเซอดำ ปะหล่อง และ จีนยูนนาน

วิจัยพืชเมืองหนาว

สถานีเกษตรหลวงอ่างขางตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นตลอดปี ดังนั้นจึงเป็นสถานีหลักในการศึกษาวิจัยไม้ผลเขตหนาวของโครงการหลวงนับเป็นสถานีวิจัยไม้ผลเมืองหนาวที่สำคัญที่สุดของประเทศไทยที่ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยและขยายพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ ปัจจุบันโครงการหลวงอ่างขางมีการทดลองและส่งเสริมการปลูกพืชผัก ผลไม้ และไม้ดอกเมืองหนาวอยู่อย่างต่อเนื่อง อาทิ ท้อ บ๊วย สตรอเบอร์รี่ สาลี่ พลับ กีวี เป็นต้น ผักเมืองหนาวกว่า 60 ชนิด เช่น แครอท ผักสลัดต่างๆ ฯลฯ และไม้ดอกเมืองหนาวอีกมากมาย เช่น คาร์เนชั่น กุหลาบ เบญจมาศ โดยงานวิจัยหลัก มีดังนี้

ปีพุทธศักราช

2515

ก่อตั้ง “มูลนิธิส่งเสริมผลผลิตชาวเขาไทยในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี”

ปีพุทธศักราช

2530

พระราชดำรัสสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี “ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง” เริ่มโครงการพัฒนาเต็มรูปแบบที่ดอยตุงและเริ่มการก่อสร้างพระตำหนักดอยตุงเพื่อเป็นที่ประทับทรงงาน

ปีพุทธศักราช

2531

โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 9,900 ไร่ เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเจริญพระชนมายุครบ 90 พรรษา

ปีพุทธศักราช

2532

ก่อตั้ง “บริษัท นวุติ จำกัด” เพื่อปลูกป่าเศรษฐกิจในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ เป็นวิสาหกิจกิจเพื่อสังคมแห่งแรกของประเทศไทย

ปีพุทธศักราช

2533

ก่อตั้ง “ศูนย์ส่งเสริมอาชีพหัตถกรรม” เพื่อฝึกอบรมการทอผ้าและเย็บผ้า ปัจจุบันเรียกว่า “ศูนย์ผลิตและจำหน่ายงานมือ” โดยเปิดบริการร้านแม่ฟ้าหลวงแห่งแรกที่ดอยตุง ปัจจุบันร้านหัตถกรรมทั้งหมดมีชื่อใหม่ว่า “ดอยตุงไลฟ์สไตล์”

ปีพุทธศักราช

2535

ก่อตั้ง “ศูนย์บำบัดยาเสพติด” ที่บ้านผาหมี เพื่อให้ผู้ติดยากว่า 500 คน กลับเข้าสู่สังคมอย่างมีศักดิ์ศรี

ส่งเสริมอาชีพเกษตรกร

เป็นการดำเนินงานบริเวณชุมชนโดยรอบสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง มีส่วนราชการต่าง ๆ ร่วมดำเนินงานในรูปคณะทำงานศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอ่างขาง กิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาแหล่งน้ำ การวางแผนการใช้ที่ดิน การส่งเสริมการปลูกไม้ผล ไม้ตัดดอก พืชผัก ชาจีน การผลิตไหลสตอว์เบอรี การฟื้นฟูระบบนิเวศ ในพื้นที่ต้นน้ำโดยการฟื้นฟูป่าโดยธรรมชาติและการปลูกป่าชาวบ้าน งานส่งเสริมที่นำไปสู่เกษตรกร ได้แก่

01

งานทดสอบและส่งเสริมพืชเครื่องดื่มชา

ได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกชาพันธุ์ No.12 (ชาเขียวและชาอูหลง), หย่วนจืออูหลง และ พันธุ์ลูกผสม (ชาเขียวและอูหลง)

02

งานส่งเสริมผัก

มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกผักที่แปลง 2000 ,บ้านนอแล และ บ้านขอบด้งหลากหลายชนิดด้วยกัน เช่น ผักกาดหางหงส์, คะน้าใบหยิก, กะหล่ำปลีหัวใจ คะน้าฮ่องกง และ ถั่วหวาน ฯลฯ

03

งานส่งเสริมไม้ดอก

ได้ให้เกษตรกรปลูกดอกหลายชนิดด้วยกัน เช่น กุหลาบตัดดอก (บ้านนอแล), เบญจมาศ (บ้านขอบด้ง), ยูคาลิบตัส (บ้านนอแล) และ ไม้กระถางสาธิต (บ้านขอบด้ง)

04

งานส่งเสริมสตรอเบอรี่

มีการแนะนำเกษตรกรบ้านขอบด้งในการเก็บผลผลิตสตรอเบอรี่ที่ถูกต้องเพื่อจำหน่าย และวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูสตรอเบอรี่ รวมถึงการให้ปุ๋ย เป็นต้น

05

งานส่งเสริมไม้ผล

ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวเขาปลูก บ๊วย, พี้ช, สาลี่, พลับ, และแนะนำวิธีการเปลี่ยนพันธุ์ ต่อกิ่ง การให้ปุ๋ย และ การดูแลรักษา

06

งานส่งเสริมกาแฟ

มีการส่งเสริมให้ปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้า ดูแลถึงวิธีการให้ปุ๋ย การใช้สาร เพื่อป้องกันโรคและแมลง

07

งานส่งเสริมพืชไร่

ส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกลินิน และ ปลูกข้าวบาร์เล่ย์ (เพื่อทำดอกไม้แห้ง)

08

งานป่าชาวบ้าน

ส่งเสริมชาวเขาเผ่าปะหล่องที่เข้าร่วมโครงการป่าชาวบ้านปลูกป่าพวกพรรณไม้โตเร็วของประเทศไต้หวันและมีการตัดแต่งกิ่งไม้ที่โตแล้วนำไปใช้งาน (ทำฟืน)

ทุกวันนี้พื้นที่ดอยอ่างขางได้รับพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง พลิกฟื้นทุ่งป่าหญ้าภูเขาหัวโล้นที่แห้งแล้ง ให้กลายเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชผัก ดอกไม้ ผลไม้เมืองหนาวที่อุดมสมบูรณ์ ช่วยให้ชาวเขามีอาชีพ มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีทัศนียภาพอันงดงาม กลายเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวเลื่องชื่อของประเทศ จนเป็นที่รู้จักว่า

“สวิตเซอร์แลนด์เมืองไทย”

“…การไปเที่ยวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นอาจเรียกได้ว่า เป็นการประพาสต้น เมื่อทรงแปรพระราชฐานไปเชียงใหม่ มิได้ทรงพัก แต่มักจะเสด็จฯ ดั้นด้นไปทอดพระเนตรชีวิตคนบนดอย…”

พระนิพนธ์ของหม่อมเจ้า ภีศเดช รัชนี จากหนังสือประพาสต้นบนดอยว่า

แกลเลอรี่ภาพ “ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ”

อินโฟกราฟิก

อ้างอิง

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง. (n.d.). สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง | Royal project Foundation. มูลนิธิโครงการหลวง. เมื่อ 27 เมษายน, 2565, จาก https://www.royalprojectthailand.com/station-angkhang สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2556). ดิน น้ำ ลม ไฟ สมดุลสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2560). จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2553).
ผลสำเร็จโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๘๔ พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา.