รางวัลนานาชาติ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในวโรกาสเฉลิมฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพ ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ครบ 100 ปี ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เมื่อแรกตั้งใช้ชื่อมูลนิธิว่า “มูลนิธิรางวัลมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์” และได้เปลี่ยนแปลงเป็น “มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์” เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และได้ดำเนินการมอบรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ถวายเป็นพระราชอนุสรณ์ และเพื่อเผยแพร่พระราชเกียรติคุณ แห่งสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ”องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย”

พระราชทานรางวัลด้วยพระองค์เอง

รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นรางวัลนานาชาติ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลเป็นรางวัลเดียว ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรางวัลฯ แก่ผู้รับรางวัลฯ ในแต่ละปี ด้วยพระองค์เอง และทรงรับมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ตั้งแต่แรก เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณแห่งสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และมอบรางวัลแก่บุคคลหรือองค์กรที่ปฏิบัติงาน และ/หรือวิจัยดีเด่นทางด้านการแพทย์ อันก่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษยชาติ รวมถึงดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือร่วมกับองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ โดยไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด

องค์ประธานและคณะกรรมการ

องค์ประธานกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และรองประธานกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ คือ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ทั้งสองตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งถาวร ส่วนตำแหน่งอื่นมีวาระ 4 ปี ผู้ที่ต้องออกจากตำแหน่งตามวาระ อาจจะได้รับเลือก และแต่งตั้งใหม่ได้ คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ เป็นผู้แต่งตั้ง คณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิชาการ และคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ ให้มีหน้าที่ในการวางหลักเกณฑ์ และพิจารณาสรรหาบุคคลผู้สมควรได้รับรางวัล

คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ในการวางแผนและดำเนินการทั้งปวง เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ของมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ รวมทั้งพิจารณาตัดสิน ผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 18 คน และไม่เกิน 29 คน*

รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล มีการให้รางวัลเป็นประจำทุกปีๆ ละ 2 รางวัล คือ

01

รางวัลทางการแพทย์ มอบให้แก่บุคคลหรือองค์กรที่ปฏิบัติงาน และ/หรือ วิจัยดีเด่นการแพทย์ อันก่อประโยชน์แก่มนุษยชาติ

02

รางวัลทางสาธารณสุข มอบให้แก่บุคคลหรือองค์กรที่ปฏิบัติงานดีเด่นทางด้านสาธารณสุข เป็นประโยชน์แก่สุขภาพอนามัยของมนุษยชาติ

รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประกอบด้วย

เหรียญรางวัล

ประกาศนียบัตร

เงินรางวัลๆ ละ 100,000 เหรียญสหรัฐ

ปัจจุบันมอบรางวัลไปแล้วกว่า 90 ราย

“…เงินที่ฉันได้ใช้ออกมาเรียน หรือให้พวกเธอออกมาเรียนนี้ไม่ใช่เงินของฉัน แต่เป็นเงินของราษฎรเขาจ้างให้ออกมาเรียน ฉะนั้นเธอต้องตั้งใจเรียนให้ดี ให้สำเร็จเพื่อจะได้กลับไปทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ และขอให้ประหยัดใช้เงิน เพื่อฉันจะได้มีเงินเหลือไว้ช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป…”

พระราชดำรัสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

แกลเลอรี่ภาพ “มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ”

อินโฟกราฟิก

Prince Mahidol Award Foundation

The Prince Mahidol Award is an annual award for outstanding achievements in medicine and public health worldwide. The award is given by the Prince Mahidol Award Foundation, which was founded by the Thai Royal Family in 1992. The Prince Mahidol Award Foundation was established by the royal permission of His Majesty the King Bhumibol Adulyadej , in accordance with the proposal of Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, in commemoration of the Centenary Birthday Anniversary of His Royal Highness Prince Mahidol of Songkla on January 1st, 1992. The Foundation was established in honour of His Royal Highness and in recognition of his exemplary contribution as “The Father of Modern Medicine and Public Health of Thailand.” The Prince Mahidol Award Foundation is established with the avowed purposes of honouring His Royal Highness Prince Mahidol of Songkla for his exemplary contributions to the advancement of medical, public health, and human services, conferring the Prince Mahidol Award on individual(s) or institution(s) for outstanding performance and/or research in the field of medicine for the benefit of mankind, conferring the Prince Mahidol Award on individual(s) or institution(s) for outstanding contribution in the field of public health for the sake of the well-being of the peoples, promoting public goods and cooperating with other non-profit organizations which share the same purpose, and functioning without political affiliation.
 The Prince Mahidol Award, which is conferred to individual(s) or institution(s), is divided into two categories:
• In Medicine: for outstanding performance and/or research in the field of medicine for the benefit of mankind
• In Public Health: for outstanding contribution in the field of public health for the sake of the well-being of the peoples.*
* These two categories were established in commemoration of His Royal Highness Prince Mahidol’s graduation with Doctor of Medicine (Cum Laude) and Certificate of Public Health.
The Prince Mahidol Award shall consist of a medal, a certificate, and a sum of money as the prize. The prize money for each of the two categories shall be for the sum of US $100,000.

อ้างอิง

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2556). ดิน น้ำ ลม ไฟ สมดุลสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2560). จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2553). ผลสำเร็จโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๘๔ พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา.
History – Prince Mahidol award Foundation. (n.d.). Prince Mahidol Award Foundation. https://www.princemahidolaward.org/history/