เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2560 สำนักกิจการในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ขัดการประชุม เรื่อง “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” กับ “หลักนิติธรรม” ครั้งที่ ๑ “โลกาภิวัตน์ ทุนนิยมสุดโต่ง การเสพติด ผู้ต้องขังล้นเรือนจำ”: “ปัญหาและทางออก”
ในงานดังกล่าว ได้มีการแสดงข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำในประเทศไทย กล่าวคือ
1. ในขณะที่ความจุผู้ต้องขังเป็นทางการ หรือจำนวนผู้ต้องขังที่เรือนจำรองรับได้ ของประเทศไทยนั้นเท่ากับ 217,000 คน จำนวนผู้ต้องขังที่มีอยู่จริงคือ 300,910 คน หรือก็คือสูงกว่าจำนวนผู้ต้องขังที่เรือนจำรองรับได้ถึง 83,910 คน
2. ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 67,680,000 คน เมื่อนำจำนวนผู้ต้องขังกว่าสามแสนคนดังกล่าวมาคิดเป็นอัตราส่วนผู้ต้องขังต่อประชากร 100,000 คนแล้ว ประเทศไทยจะมีอัตราส่วนผู้ต้องต่อประชากร 100,000 คนอยู่ที่ 455 (ทุกประชากร 100,000 คนจะมีผู้ต้องขังอยู่ 455 คน) หรือคิดเป็นอันดับที่ 9 ของโลก
3. ส่วนใหญ่ของผู้ต้องขังในไทย หรือประมาณร้อยละ 90 นั้น ล้วนเป็นผู้ต้องขังในคดียาเสพติด และกว่าร้อยละ 80 ในกลุ่มนี้ คือคนยากจน
ในมุมมองมองหนึ่ง เมื่อเห็นสถิติดังกล่าวแล้ว อาจชวนให้รู้สึกว่าประเทศไทยช่างตกต่ำทางศีลธรรมจนแม้เอาการคุมขังเป็นที่ตั้งในการจัดการผู้กระทำผิดแล้ว ก็กลับยังก่อเกิดความเกรงกลัวไม่มากพอจะก่อความยับยั้งชั่งใจ ทำให้ไม่เพียงพอต่อการรองรับจำนวนผู้กระทำผิดที่เกิดขึ้นจริงในที่สุด
ทว่าในอีกด้านหนึ่งนั้น ตามข้อมูลที่ได้จากการประชุมแล้ว นี่คือสภาวะที่เรียกว่าเรากำลัง “เสพติดการใช้เรือนจำ/ทัณฑสถาน (Addicted to Incarceration)” หรือ “กฎหมายอาญาเฟ้อ (Overcriminalization)”
สภาพดังกล่าวนั้นอาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นการ “ใช้กระบวนการยุติธรรมไปในทางที่ล้นเกิน”
ดังนั้น เพื่อเป็นหนึ่งในการถวายความอาลัย รวมทั้งร่วมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย จึงอยากขอน้อมนำเอาแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมาลองปรับใช้เพื่อเสนอแนวความคิดในการแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำในที่นี้
©2022 Institute of Sufficiency Economy. All rights reserved.